ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7292 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (2001) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7292 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 85 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6896 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 107 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 
การสร้างพระเนื้อผง

ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง

พระเครื่องเนื้อผงที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360

สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน

เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ = กล้วยน้ำว้า , น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว)

จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง 5 อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง

ขั้นตอนการทำผงวิเศษ 5 ประการ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

1) การสักการะบูรพาจารย์ นับเป็นประเพณีในการศึกษษพุทธาคมมาแต่ครั้งโบราณ ที่ผู้ศึกษาจะต้องทำพิธีสักการบูรพาจารย์ก่อนกระทำการใดๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และรับการประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม โดยผู้ทำพิธีต้องทำตนให้สะอาด เป็นฆราวาสให้นุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้ผ่องใส และรับสมาทานเบญจศีลเสียก่อน เป็นพระภิกษุให้ทำสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ผ่องใส แล้วตั้งเครื่องสักการะ

บูชาครูอาจารย์ อันประกอบไปด้วย

ดอกไม้ 9 สี ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้า) ผลไม้ 9 สิ่ง หัวหมู เป็ด ไก่ ปลาช่อนนิ่งทั้งตัวไม่ขอดเกล็ด ถั่วคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก นม เนย ขันล้างหน้า ผ้าขาว ผ้าแดง เงินค่าบำรุงครู 6 บาท

จากนั้นให้บูชาพระรัตนตรัย แล้วร่ายโองการ (บทสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อด้วยบทอัญเชิญทวยเทพ บทอัญเชิญครู โองการสรรเสริญครู โองการชุมนุมครู) เมื่อเสร็จพิธีคำนับครู ก็เริ่มเข้าสู่การเรียกสูตรต่างๆ

2.) การเรียกสูตร คือ การฝึกหัดเขียน อักขระ เลข ยันต์ นานาประเภท อันประกอบด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักระเลขยันต์นั้นๆด้วย “ดินสอผงวิเศษ”

“ดินสอผงวิเศษ” สร้างจากส่วนผสมของเครื่องเคราต่างๆอันประกอบด้วย

-ดินโป่ง 7 โป่ง (ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป ในที่นี้ให้นำดินโป่ง 7 แห่ง)

-ดินตีนท่า 7 ตีนท่า (ดินจากท่าน้ำ 7 แห่ง)

-ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง (ดินจากหลักเมือง 7 เมือง)

-ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ

-ดอกกาหลง

-ยอดสวาท

-ยอดรักซ้อน

-ขี้ไคลเสมา (คราบไคลดินบนแผ่นเสมาที่แสดงขอบเขตของโบสถ์)

-ขี้ไคลประตูวัง

-ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก (คราบไคลดินจากเสาหลักคู่ สำหรับล่ามช้างเผือก)

-ราชพฤกษ์ (ไม้ต้นราชพฤกษ์ตากแห้งป่นเป็นผง)

-ชัยพฤกษ์

-พลูร่วมใจ (ต้นพลูที่ใช้กินกับหมาก ขึ้นเป็นดง เป็นกอ บางครั้งจึงเรียกว่า “พลูร่วมใจ” เพราะจะขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ใช้ที่ขึ้นแยกต้น แยกกอ)

-พลูสองหาง (ในบรรดาใบพลู จะมีบางต้นที่น้อยมาก ปรากฏปลายใบแยกเป็น 2 แฉก)

-กระแจะตะนาว (ชื่อต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้นมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่อนไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องประทินผิว)

น้ำมันเจ็ดรส (น้ำมันที่ได้จากของ 7 ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี

-ดินสอพอง

เอาส่วนผสมทั้งหมดมา ผสมกันแล้วบดให้ละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ

                เมื่อได้ดินสอผงวิเศษ ซึ่งต้องเตรียมการไว้แล้ว ก็จะเข้าสู่การทำกรรมวิธีสร้างผงวิเศษ ที่จะต้องกระทำในพระอุโบสถ โดยเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับการคำนับครู โดยตั้งของต่างๆไว้เบื้องหน้าพระประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกถาดบรรจุสิ่งของเหล่านั้นขึ้น แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา ทำประสะน้ำมนต์(ชำระล้างตัวให้สะอาดแล้วเอาน้ำมนต์ราดชำระให้ทั่วร่างกาย) พรหมตัว เรียกอักขระเข้าตัว(การเรียก หรือสวดมหาพุทธมนต์ต่างๆให้มาสถิต ประสิทธิ์กับตัวเอง)และอัญเชิญครูเข้าตัว

                3) การทำผงวิเศษ เมื่อขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่การทำผงวิเศษ ซึ่งผงทั้ง 5 มีความเป็นมาน่าสนใจ ดังนี้

                3.3.1) การทำผงปถมัง นับเป็นผงเริ่มต้น สำหรับการศึกษาวิทยาคม ใช้สำหรับการลง “นะ” ทุกชนิดตามสูตร ปฐมพินธุ (ปัด-ทะ-มัง-พิน-ทุ เป็นบทพระเวทย์ชั้นสูงที่ว่าด้วยการเกิด) ซึ่งมีความเป็นมาแต่ครั้งปฐมกัลป์ที่โลกยังว่างเปล่าปราศจากชีวิต มีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงไป และแผ่นดินโผล่ขึ้นมา ท้าวสหับดีมหาพรหมได้เล็งญาณ เห็นดอกบัว 5 ดอก ก็ทราบว่าในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในโลก 5 พระองค์ด้วยกัน จึงโปรยหญ้าคาลงมา พื้นน้ำก็งวดเป็นแผ่นดินส่งกลิ่นหอมหวน พวกพรหมก็ลงมาเสพมวลดินเป็นอาหาร เลยพากันหลงทางกลับสู่พรหมโลกไม่ได้ จึงสืบเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์อยู่ในโลกตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ สหับดีมหาพรหมจึงเป็นปฐมแห่งโลกธาตุ

                ดังนั้น การลง “นะ” คือ การย้ำพระเทย์วิทยาคุณให้ประจุ(บรรจุ) กำกับอยู่ในสิ่งที่ต้องการนับเป็นการเบิกพระสูตรที่เปิดทางบรรจุพระคาถาอื่นๆได้อย่างอัจฉริยะ

                การทำผงปถม(ผง-ปัด-ทะ-มัง) คือ การนำเอาผงเครื่องยาที่ผ่านกรรมวิธีที่กล่าวมาข้างต้นมาปั้นเป็นดินสอขึ้น แล้วเขียนเรียกสูตร น ปฐม พินธุ และสูตรการลบ เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ปั้นขึ้น ก็จะได้ผงปฐม ซึ่งใช้เวลาในการทำผงนี้ ประมาณ 2-3เดือน

                3.3.2) การทำผงอิธะเจ เกิดจากการนำเอา ผงปฐม ที่ทำสำเร็จแล้ว มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเขียนอักขระด้วย สูตรมูลกัจจายน์ และลบด้วยสูตรลบผงอิทธะเจ คัมภีร์โบราณ กล่าวว่า ท่านพระมหากัจจายน์พระคณาจารย์เจ้ายุคก่อนเป็นผู้วางแบบแผนการสร้างสูตรอันนี้ไว้ ชนชั้นหลังต่อมาจึงได้เอานามของท่านมาเรียกชื่อสูตรว่า ”สูตรมูลกัจจายน์” หรือ มูลกระจาย อันถือเป็นรากฐานแห่งความรู้ในอักขระ พยัญชนะ และสระในอักษรขอม การทำผงอิทธิเจนั้น จะต้องร่ายอักขระ และแปลงพยัญชนะและสระ ให้สำเร็จรูปเป็น “อิธเจตโส ทฬห คณหาหิ ถามสา” ซึ่งเรียกว่า “ลบขาดตัว” ผงที่ได้จากการลบขาดตัวนี้เรียกว่า “ผงอิธะเจ” ใช้เวลาทำประมาณ 3 วัน และต้องเขียนให้หมดสิ้นดินสอที่เตรียมไว้

                3.3.3) การทำผงมหาราช  ใช้ผงอิธะเจ มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเรียกสูตรมหาราช แล้วลบสูตรที่เขียนด้วยนามทั้ง 5 เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ทำขึ้น ใช้เวลาทำใกล้เคียงกับการทำผงปถมัง เกิดเป็นผงใหม่ ชื่อ “ผงมหาราช”

                3.3.4) การทำผงพุทธคุณ ใช้ผงมหาราชมาปั้นทำเป็นดินสอ เรียกสูตร และลบอักขระเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ จวบจนเสด็จสู่พระปรินิพพาน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอ จะได้ผงพุทธคุณ ซึ่งถือว่าเป็นผงวิเศษที่มีพุทธานุภาพสูงยิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธองค์

                3.3.5) การทำผงตรีนิสิงเห ซึ่งนับเป็นผงสุดท้ายเกี่ยวกับสูตรเลขไทยโบราณ เกิดจากการรวบรวมเอาผงพุทธคุณที่ลบได้มาปั้นเป็นดินสอ เรียกสูตรอัตอาวาทวาทศมงคล 12 เขียนสูตรไล่เรียงไปจนสำเร็จเป็นอัตตราตรีนิสิงเห เข้าสู่รูปอัตตรายันต์ 12 ยันต์ จนสุดท้ายได้รูปยันต์นารายณ์ถอดรูป ซึ่งประกอบด้วย ยันต์ประจำขององค์ตรีนิสิงเห แล้วมี ยันต์พระภควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์ประทับลงเป็นประการสุดท้าย

                อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธาคม ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ในเรื่องการทำผงนี้ มีตำรับที่จะทำมากมายนัก นอกจากตำรับทั้ง 4 ที่ยกมาอ้างนี้ คือ ปถมัง อิธเจ มหาราช ตรีนิสิงเห เพราะตำรับทั้งสี่นี้เป็นแม่บทใหญ่ ส่วนที่แตกแยกฝอยออกไปอีกนั้น ยังมีอีกมากเช่น ผงพุทธคุณ เป็นต้น โดยเฉพาะผงพระพุทธคุณนั้น มีวิธีทำหลายวิธีด้วยกัน ผงเหล่านี้มีคุณภาพดุจกันทั้งสิ้น อาศัยแรงความปรารถนาอธิษฐานของผู้กระทำ จะมุ่งให้มีอานุภาพไปทางไหน พระเครื่อง เครื่องรางที่ทำด้วยเกสร หรือ ผงที่ได้สร้างแต่ครั้งโบราณล้วนแต่สร้างขึ้นมาจากผงเหล่านี้ทั้งสิ้น”

                เมื่อได้ผงวิเศษ จึงนำมาคลุกเคล้ากับทัพสัมภาระอันพิจารณาแล้วว่าเป็นของดี มีมงคลอันประเสริญ ที่ผ่านการบดละเอียดแล้ว จึงผสมผงปูน เปลือกหอยที่บดแล้ว ประสานมวลสารทั้งหมดด้วย กล้วยน้ำ (กล้วยน้ำว้า) และน้ำมันตังอิ๊ว ได้มวลสารรวมมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวปั้นได้

                4. แกะแม่พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระนั้น มีหลายฝีมือ ทั้งช่างราษฎรชาวบ้านสามัญ ไปถึงช่างหลวงในราชสำนัก ซึ่งดูได้จากความงดงามลงตัวของพระพุทธปฏิมาที่ปรากฏความหยางบ ละเอียด สมดุล และงดงาม ออกมาในรูปทรงขององค์พระเครื่องนั้นๆ

                เมื่อได้แม่พิมพ์เป็นที่พอใจ จึงนำส่วนผสมข้างต้นมากดลงในแม่พิมพ์ก่อนที่จะใส่มวลสารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพระติดกับแม่พิมพ์ ก็จะนำผงปูนมาโรยลงในพิมพ์ก่อนที่จะหยอดเนื้อมวลสารลงไป เมื่อกดพิมพ์ได้ที่แล้วก็จะทำการตัดตอกเนื้อส่วนเกินที่ปลิ้นล้นจากแม่พิมพ์ แล้วจึงเคาะองค์พระออกจากแม่พิมพ์ การโรยผงปูนไว้ก่อน ทำให้พระไม่ติดพิมพ์ ธรรมชาติของแป้งโรยพิมพ์นับเป็นคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งในการช่วยพิจารณาพระแท้ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

                ในครั้งแรก พระที่นำออกจากแม่พิมพ์ใหม่ๆ จะมีความชื้น และสดของผิวมวลสาร จำเป็นต้องนำไปตากแดด หรือผึ่ง ให้แห้ง ถ้าเป็นสมัยใหม่ ก็จะนำไปอบให้แห้ง ก็ถือว่าเสร็จกระบวนการผลิตพระเนื้อผง หากแต่คนในสมัยโบราณยังถือว่าเป็นพระที่ยังไม่ครบ ต้องทำการบวชเสียก่อน

                5. การปลุกเสกพระ เมื่อผลิตพระผงเสร็จสิ้น องค์ประกอบที่สำคัญประการสุดท้าย คือ พระที่สร้างต้องผ่านการปลุกเสก อันเสมือนการเชิญพลังพระรัตนตรัยมาประจุ (บรรจุหรือรวมตัว) ประสิทธิ์ ประสาท ยังพระเครื่องที่สร้าง การปลุกเสกนั้น แบ่งเป็น

                5.1) การปลุกเสกหมู่ หมายถึง การนิมนต์พระจำนวนมากกว่า 1 รูป มาร่วมกันบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตปลุกเสกร่วมกัน กระทำเต็มรูปแบบศาสนพิธีการ

                5.2) การปลุกเสกเดี่ยว หมายถึง พระเครื่องที่ผ่านการบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตเพียงองค์เดียว เป็นศาสนพิธีกรรม

                5.3) การอธิษฐานจิต หมายถึง พระเครื่องที่ไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอันเป็นศาสนพิธีเหมือนกับ 2 ประเภทแรก หากแต่เป็นการใช้พลังอำนาจจิตประจุพระพุทธานุภาพ สำหรับพระภิกษุผู้มีฌาณปฏิบัติที่แก่กล้า และสำเร็จมรรคผลพระธรรมขั้นสูง ท่านสามารถอธิษฐานจิตได้ และมีพลานุภาพทำให้พระเครื่องที่ผ่านการอธิษฐานจิตเปี่ยมด้วยพระพุทธคุณได้เช่นกัน

                พระเนื้อผงที่ผ่านขั้นตอนพิธีการต่างๆที่กล่าวมา จึงถือว่าเป็นพระเครื่องที่สมบูรณ์การสร้างพระผงยังคงมีให้พบเห็น และศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน แต่จะเคร่งครัดประการใดอย่างไร ก็ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

 
 
สนับสนุนโฆษณา
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

ชุดน้ำยาทำผิวรุ้ง ผิวสวย พระเครื่องเนื้อทองแดง 

500 บาท


ชุดน้ำยารมดำและน้ำตาล ทองเหลือง ทองแดง 

450 บาท


น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

250 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด