พระกริ่งโสฬส มปร. วัดราชประดิษฐฯ ปี 2515
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองเพื่อสร้างพระนิรันตรายของวัดราชประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2515
ทางวัดได้นำชนวนของการสร้างพระนิรันตรายมาเป็นส่วนผสมการสร้างเหรียญและพระกริ่ง
พระกริ่งโสฬส มปร. ปี๒๕๑๕ รมดำ.....พิธีฉลอง ๑๐๘ ปี วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔ มีสมเด็จพระสังฆราช (สา) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด และเป็นองค์เดียวของไทยที่สอบได้เปรียญธรรม ๑๘ ประโยค ในสมัยนั้น และพระองค์ท่านก็ได้ทรงนิพนธ์โสฬสปัญหา (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระกริ่งโสฬส)
ในการครั้งนี้ทางวัดได้จัดสร้าง พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตรายแบบพัดยศ และแบบเสมา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ในการ ฉลองวัดครบรอบ ๑๐๘ ปี และได้มีการจัดพิธีปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ และมีคณาจารย์ชื่อดังจากทั่วทั้งประเทศ และทั้ง 4 ภาค มาร่วมนั่งปรกเป็นจำนวน ๑๐๘รูป และได้จัดพิธีปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน (วันละ ๑๒ รูป)
พระกริ่งโสฬสเป็นพระกริ่งที่ฉีดชักกริ่งในตัว เนื้อทองเหลือง และรมดำ (บางองค์ก็ไม่มีเสียงกริ่ง) ชนวนที่นำมาหลอมฉีดพระกริ่ง และเหรียญ ได้นำมาจากคณาจารย์ ชื่อดังทั่วทั้ง ๔ ภาคของประเทศไทย ในการหลอมยันต์ในครั้งนี้ใช้เวลาในการหลอมเป็นเวลานานมาก เพราะยันต์ของคณาจารย์บางท่านกว่าจะหลอมละลายได้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ตามธรรมดาแล้ว แผ่นทองเหลือง, แผ่นทองแดง เมื่อใส่ลงในเบ้าหลอมแล้วก็จะละลายโดยง่ายดาย แต่ยันต์ที่นำมาหลอมทำพระกริ่ง และเหรียญพระนิรันตรายนั้นหลอมละลายได้ยากมาก
ได้มีการจัดพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ถึง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ (ได้นำชนวนมาจาก การเททองหล่อพระนิรันตรายรุ่นแรก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเททอง) ในการครั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ได้เมตตามาเป็นประธาน ในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคลรุ่นนี้ พระคณาจารย์ที่นั่งปรกในวันแรกเท่าที่จำได้มีดังนี้
พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 26 พฤจิกายน 2515 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหรายวัตถุมงคลในพิธี
พระราชสุทธาจารย์ (หลวงพ่อโชติ ระลึกชาติ) เป็นประธาน
หลวงพ่อทิม วัดละหารไร่ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อประสิทธิ์ หลวงพ่อกิ๋ วัดหูช้าง หลวงปู่วัน วัดท่าจีน หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล หลวงปู่เทศก์ วัดหินหมากเป้ง หลวงปู่จันทร์ วัดเลยหลง หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
(ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน)
นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง ๔ ภาคร่วมนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่หาได้ไม่ง่ายนักในสมัย ๓๕ ปีที่ผ่านมา (พระคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกส่วนมากจะมรณภาพเกือบทุกรูปแล้ว) รูปแบบของพระกริ่งนั้น ด้านหน้าเป็นฐานกลีบบัว ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร รูปแบบเหรียญพระนิรันตรายแบบเสมาด้านหน้าเป็นรูปพระนิรัตราย ด้านหลังมีตราประจำวัด (ตราพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ ๔) และประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ กล่าวได้ว่าพระกริ่งโสรสรุ่นนี้เป็นสิ่งล้ำค่าหาได้ยาก ผู้ใดมีไว้บูชาจะเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง หลวงปู่โต๊ะฯ ท่านได้เคยกล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า พระกริ่งรุ่นนี้ดีมาก ใช้แทนวัดสุทัศน์ พ.ศ.ลึกๆ ได้เลย ..ฯลฯ...นับเป็นพิธีฉลองที่ใหญ่มากอีกวาระหนึ่ง...ทึ่เกี่ยวเนื่องกับในหลวงของเรา
|