ข้อมูลประวัติ ครูบาหล้า วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่
ครูบาหล้า หรือ หลวง ปู่หล้า มีชื่อ หล้า ฉายา จนฺโท (อ่านว่าจันโท) ฉายา หรือชื่อที่อุปัชฌาย์ คือ พระเถระผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนาตั้งให้ท่านได้แก่ "จนฺโท"นั้นแปลว่า พระจันทร์ การตั้งฉายาเป็นไปตามวันเกิด หลวงปู่หล้าเกิดวันพฤหัสบดี
เกิดที่บ้านปง
หลวง ปู่หล้า เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี๋งเหนือ) ตรงกับวันที่ 22 กันยายน 2411 ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่หากดูจากพระประวัติเมืองเชียงใหม่แล้ว อยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครจากเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ "เจ้าหลวงตาขาว"(พ.ศ.2426 - 2439 เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 8 คือ เจ้าอินทวโรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2442-2452)
หลวง ปู่หล้า เกิดที่บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านปงอยู่ห่างจากวัดป่าตึงประมาณ 1 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) สำหรับบริเวณนี้ ในอดีตเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาของภาคเหนือ จึงปรากฎเตาเผาและเครื่องปั้นดินเผา โดยอาจารย์ไกรศรี นิมมนานเหมินท์ สำรวจเตาเผา เมื่อ พ.ศ.2495 มีจำนวนถึง 83 เตา จึงได้ทำการเผยแพร่ในปี พ.ศ.2503 ในชื่อ "เตาสันกำแพง" ผลผลิตส่วนหนึ่งชาวบ้าน และอาจารย์ไกรศรี ได้นำถวายหลวงปู่หล้าไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดป่าตึง เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาต่อไป
สกุลบุญมาคำ
โยมพ่อ ชื่อ นายเงิน โยมแม่ชื่อ นางแก้ว นามสกุลบุญมาคำ เหตุที่มีนามสกุลนี้ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "เพราะพ่ออุ้ย (ปู่) อบุญมา แม่อุ๊ย (ย่า) ชื่อคำ เมื่อมีการนามสกุล
กำนันจึงตั้งให้เป็น "บุญมาคำ" ทุกคนทั้งโยมพ่อโยมแม่ พ่ออุ้ย แม่อุ้ย เป็นชาวบ้านปงมีอาชีพทำนา มีรากอยู่ที่บ้านปงมานานแล้ว
หลวง ปู่หล้าเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว จึงมีชื่อเดิมว่า "หล้า" ซึ่งหมายถึงสุดท้าย หลวงปู่หล้า มีพ่อน้อง 4 คน เสียชีวิตหมดแล้วได้แก่
1. นายปวน
2. แม่แสง
3. นางเกี๋ยงคำ
4. นายคำ
หลวง ปู่หล้ากำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ 1 ขวบเท่านั้น โยมแม่จึงเลี้ยงดูบุตรทั้งหมดเพียงลำพังตนเอง หลวงปู่หล้าเล่าให้ฟังว่า "การเลี้ยงลูกสมัยก่อน ต้องช่วยกันทำงาน ช่วยเลี้ยงวัว ทำผิดก็ถูกเฆี่ยน ทำพลาดก็ถูกเอ็ด เด็กวัดป่าตึง
หลวงปู่หล้า หรือเด็กชายหล้า บุญมาคำ อายุได้ 8 ขวบ โยมแม่ก็นำไปฝากกับครูปินตา เจ้าอาวาสวัดป่าตึง ให้เป็นเด็กวัด (สมัยก่อนชาวบ้านนิยมฝากบุตรชายให้เป็นเด็กวัดเพื่อศึกษาเล่าเรียน) หลวงปู่หล้าจึงได้เรียนหนังสือเป็นครั้งแรกกับครูบาปินตา แต่ขณะนั้นหลวงปู่หล้าเรียนหนังสือพื้นเมือง (ช่วงนั้นตรงกับ พ.ศ. 2450เกิดความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์พื้นเมือง ภายใต้การนำของครูบาฝายหิน เจ้าอาวาสวัดฝายหิน เชียงใหม่ ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นปฐมสังฆนายกองค์ที่ 1 พ.ศ. 2438กับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย นำโดยมหาปิงเจ้าคุณนพีสีศาลคุณ จนมีการกล่าวขวัญเรื่องนี้ว่า "จะไหว้ตุ๊ป่า หรือ จะไหว้ตุ๊บ้าน" คำว่า ตุ๊ หมายถึง พระจนความทราบถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรส สมเด็จพระสังฆราช และรัชกาลที่ 5 จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาครูบาฝายหินลงไปเฝ้าใน
ปี พ.ศ. 2499 ขณะนั้นครูบาฝายหินมีอายุ 75 ปี ครูบาฝายหินได้ถวายพระพรให้ทรงทราบเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง โปรดเกล้าถวายสมณศักดิ์ตำแหน่งพระราชาคณะให้ครูบาฝายหินเป็นพระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์ ฉะนั้น ปีที่หลวงปู่หล้าไปเป็นเด็กวัดป่าตึงนั้น ทรงราชการส่งเสริมให้ทุก ๆ วัดจัดการศึกษาแก่กุลบุตร โดยยังคงผ่อนผันให้ใช้อักษรพื้นเมืองในการเรียนการสอน)
สู่ร่มสกาวพัสตร์
หลวง ปู่หล้าเป็นเด็กวัด ศึกษาเล่าเรียนกับครูบาปินตา จนกระทั้งอายุ 11 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณรในช่วงเข้ารุกขมูล เข้ากรรมอยู่ในป่า มีผู้บวชพร้อมกันครั้งนั้น7 คน ครูบาปินตาเป็นผู้บวชให้ทุกคนต้องไปอยู่รุกขมูลในป่าช้า การเข้ากรรม หรืออยู่กรรม หรือ การไปอยู่รุกขมูล เรียกว่าประเพณีเข้าโสสานกรรมซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา มักทำกันในบริเวณป่าช้าที่อยู่นอกวัด ผู้เข้าบำเพ็ญโสสานกรรมต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดเพื่อต้องการบรรเทากิเลส ตัณหา ความห่วงต่อวัตถุ ต้องสร้างความดีด้านจิตใจให้เกิด