ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ จ.ชุมพรภูมิลำเนาเดิม
เดิมชื่อนายจอน เทพทอง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2392 ตรงกับ วันศุกร์ เดือน 6 ปีระกา ที่บ้านท่าจาย อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรของ นาย ปลอด และ นางคง เทพทอง มีพี่น้องร่วม บิดา มารดา 3คน คือ
1. นางสี
2. หลวงปู่จอน
3. นายขิน
ในวัยหนุ่มท่านเป็นคนที่มีรูปร่าง พละกำลัง แข็งแรง ภูมิฐาน ผิวเนื้อดำแดง ขรึม สูงประมาณ 170 เซนติเมตร รูปร่างสันทัด ไม่อ้วนและไม่ผอม เกินไป สูงโปร่ง ใบหน้ารูปไข่ มีเครา
จบการศึกษา วิชาสามัญ จบประโยคประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดดอนชาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฝ่ายปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมเอก จากวัดดอนชาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 18 ปี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2410ณ วัดดอนชาย เมื่ออยุครบ 21 ปี บริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. 2413 ณ วัดดอนชาย ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยมี พระครู อาจารย์เทศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระสมุห์ปณฺฑิโค เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการเทพยั่ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์
โดยได้รับ ฉายาว่า สิริจนฺโท โดยท่านได้ศึกษาเล่าเรียน คันถธุระ วิปัสสนาธุระ และปฏิบัติพระธรรมวินัย จนแตกฉาน โดยเฉพาะการท่องบทสวดมนต์ ทั้งพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม ท่านสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำ ชำนาญการสวด แสดงได้อย่างชัดเจน ถูกต้องตามอักขระวิธี แม้บทสวดมนต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้ ในศาสนพิธีต่างๆ ท่านก็สามารถสวดได้ โดยที่พระองค์อื่นๆ ต้องนั่งประนมมือเงียบๆ ก็มี
ตลอดชีวิตสมณเพศของท่าน จะออกธุดงค์เป็นนิจ เนื่องจากท่านเป็นคนที่มีจิตใจแน่วแน่ มั่นคง เมื่อตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้ว ก็จะเดินหน้าทำ โดยไม่ย่อท้ออย่างเด็ดขาด โดยท่านจะออกธุดงค์ครั้งละนานๆ ซึ่งท่านได้ธุดงค์มาแล้วทั่วประเทศ ซึ่งการออกธุดงค์ของพระเกจิ เมื่อก่อนนั้น ถ้าไม่แน่จริงละก็ ไม่มีทางเข้าไปอาศัย ในป่าได้เป็นเดือน เป็นปีเป็นแน่ หลังจากที่ท่านได้ เดินทางธุดงค์มาเป็นเวลานาน จนกระทั่งวันหนึ่งท่านได้เดินผ่านมายังที่รกร้างเงียบ
หลวงปู่จอน ได้ครองชีวิตสมณเพศเป็นเวลาถึง 60 พรรษา ตลอดเวลาที่หลวงปู่มีชีวิตอยู่ ท่านไม่ได้สร้างวัตถุมงคลใดๆ เลย เนื่องจากท่านเน้นสอนให้เป็นคนดี และปฏิบัติดีเป็นหลัก จะมีก็แต่เครื่องรางของขลัง แจกชาวบ้านบ้าง ส่วนวัตถุมงคลต่างๆ นั้น ล้วนแล้วแต่สร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วทั้งนั้นโดยลูกศิษย์ของท่าน แต่ก็ได้พระเกจิ ดังๆ ในสมัยนั้น เข้าร่วมปลุกเสกหลายท่าน เช่น หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน และ หลวงพ่อบ่าว วัดเชิงกระ เป็นต้น
นอกจากนี้ท่านยังคงเป็นผู้ทรงคุณธรรม จริยธรรม ที่มากด้วยเมตตาธรรม กรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นกันเอง กับทุกบุคคล ทุกเพศทุกวัย ทุกระดับชั้น แม้แต่เด็กเล็กๆ ท่านจึงเป็นปูชนียบุคคล ที่น่าเคารพยิ่ง แม้บางครั้งจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นจากบุคคล ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มากระทบกระเทือน เร้าอารมณ์ จิตใจ ยั่วยวนให้เกิดตัณหา แต่ท่านก็ต่อสู้ด้วยขันติ และสันติธรรม อุเบกขา การวางเฉย และพูดแต่คำว่า ดี อย่างเดดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง