ขายคอนโด 33 ทาวน์เวอร์ สุขุมวิท 33
ห้อง 5/2 (66/9) กว้าง 183 ตรม.
ราคา 12.5 ล้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สนใจโทร
. 089-446-0046
 
พระเครื่องทั้งหมด 7292 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (336) พระเนื้อดิน (591) พระเนื้อชิน (214) พระเนื้อผง (587) พระเหรียญ (2079) พระกริ่ง (177) พระรูปหล่อ (302) พระบูชา (6) เครื่องราง (178) พระแท้ไม่ทราบที่ (2001) กล้องส่องพระ (4) พระปิดตา (273) เหรียญหล่อ (315) ไฟแช็ค Zippo (4) ธนบัตร (10) น้ำยาล้างพระเหรียญไทย (6)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 7292 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 85 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 6896 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 107 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
หลวงปู่แสง วัดป่าดงสว่างธรรม
หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตี๋ วํดท่ามะกรูด
หลวงปู่ฮก วัดราษฎร์เรืองสุข
หลวงปู่บัว ศรีบูรพาราม
หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ
หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
หลวงพ่อเชื่อม วัดเขาทองพุทธาราม
หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน
หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารตี้อ
หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด
หลวงปู่สุภา วัดสิริสีลสุภาราม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP

LOTTOVIP


 

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
 
หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง / ผู้เข้าชม : 6701 คน

หลวงปู่หลิว วัดไรแตงทอง จ.นครปฐม

หลวงปู่หลิว ปณฺณโก "เทพเจ้าพญาเต่าเรือน" วัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

หลวงปู่หลิว ปณฺณโก นับเป็นผู้ทรงอภิญญา และมีพุทธาคมสูงส่ง ท่านเป็นผู้ที่มีเมตตา พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ท่านพร้อมที่จะสร้าง พร้อมที่จะเสียสละ ให้กับบวรพุทธศาสนา ท่านไปอยู่ยังที่แห่งใดก็เปรียบเสมือนดวงประทีปของที่นั่น จนท่านได้ชื่อว่า พุทธบุตร ที่ทุกคนยกย่อง
ในช่วงที่หลวงปู่หลิวยังมีชีวิตอยู่นั้น

ท่านได้ใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่ท่านมี บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โดยมิได้หยุด
หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เคยตั้งปณิธานด้วยสัจจะ 2 ประการคือ

1. ลดเลิกอบายมุขทุกชนิด
2. เมื่อมีโอกาสจะสั่งสมบารมี ด้วยการสร้างเสนาสนะภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลาการ เปรียญ จนกว่าชีวิตจะหาไม่

ความปรารถนาอันแรงกล้าของหลวงปู่หลิวเป็นผลให้อำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่สถิตย์ทั่วจักรวาล ดลบันดาล ให้ท่านมี วาจาสิทธิ์ กับ ญาณทิพย์ มาขจัดปัดเป่าความทุกข์โศก ของเหล่า บรรดาศิษยานุศิษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่ายากดีมีจนไม่ว่าใกล้ไกลที่ไหน ท่านก็จะถามถึงทุกข์สุข ของทุกคน ท่านได้ช่วยเหลือจนหมดสิ้น

ปฐมวัย 

หลวงปู่หลิว ปณฺณโก มีนามเดิมว่า “หลิว” นามสกุล “แซ่ตั้ง” (นามถาวร) บิดามีนามว่า คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง มารดามีนามว่า คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง ท่านเกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย (ปีมะเส็ง) ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันทังหมด 9 คน คือ

1. นายเหรียญ แซ่ตั้ง
2. นางแอ๊ว ตู้นิ่ม
3. หลวงปู่หลิว ปณฺณโก
4. นายปลิว จุฬาเบา
5. นางลั้น เตี้ยเนตร
6. นางปั่น เหมือนจินดา
7. นายหนู นามถาวร
8. นายปู นามถาวร
9. นางปุ่น นามใจ

ครอบครัวของหลวงปู่หลิวอยู่ในชนบท ที่ห่างไกลความเจริญ บิดามารดามีอาชีพหลักคือ ทำนา ต่างคนต่างต้องช่วยกันทำมาหากินกันไปตามสภาวะ หลวงปู่หลิวในวัยเด็ก มีความคิดเห็นที่แตกต่าง จากเด็กในวัยเดียวกันอย่างสิ้นเชิง แทนที่จะไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กในวัยเดียวกัน แต่หลวงปู่หลิว กลับมองเห็นความยากลำบากของบิดา มารดา และพี่ ๆ จึงได้ช่วยงานบิดา มารดา และพี่ ๆ อย่างขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวเป็นที่รักใคร่ของบิดา มารดา ตลอดจนพี่ ๆ และน้อง ๆ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวได้เรียนรู้วิชาช่าง ควบคู่ไปกับการทำไร่ ทำนา เพราะบิดานั้นเป็นช่างไม้ฝีมือดี คนหนึ่ง เมื่อเติบใหญ่หลวงปู่หลิว จึงมีฝีมือทางช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านทั่วไป

ในบางครั้งหลวงปู่หลิว ท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกล เพื่อไปทำงานบางครั้งไปกลับ ใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานา บางครั้งทำให้ท่านถึงกับล้มป่วยไปเลยก็มี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ หลวงปู่หลิวมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย (เพราะหลวงปู่หลิว ท่านมีลักษณะเด่นอยู่ในตัวคือ ท่านมี “ความจำ” เป็นเลิศ) นอกจากท่าน จะเป็นช่างไม้ฝีมือดีแล้วท่านยังเป็นหมอยาประจำหมู่บ้านหนองอ้อ, ทุ่งเจริญ, บ้านเก่า และละแวกใกล้เคียงไป โดยปริยาย ใครมาขอตัวยากับท่าน ท่านก็ให้ไปทุกคน

ครอบครัวโดนรังแก

ในอดีตนั้นเขตภาคกลางโดยเฉพาะ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กล่าวกันว่าเป็นแดนเสือ ดงนักเลง มีโจรผู้ร้ายโด่งดังมากมาย คนหนุ่มทั้งหลายกลุ่ม หลายถิ่นต่างตั้งกล่มเป็นโจรผู้ร้ายปล้นจี้ สร้างอำนาจอิทธิพลในพื้นที่ของตน คนบางกลุ่มก็ตั้งกลุ่มเพื่อปกป้องคุ้มครองถิ่นของตน ครอบครัวหลวงปู่หลิวเอง ก็ได้รับความเดือดร้อนจากกลุ่มโจร ท่านได้พูดถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า “โยมพ่อโยมแม่และพี่ชายเป็นคนซื่อ ใจรมาขโมยวัว ขโมยควายก็มิได้ต่อสู้ขัดขืน ทำให้พวกโจรได้ใจทำให้วัดควายและข้าวของ ที่พยายามหามาด้วยความยากลำบากต้องสูญเสียไป อาตมา จึงเจ็บใจและแค้นใจ เป็นที่สุด แต่ทำอะไรมันไม่ได้”

ในบางครั้งโจรที่มาปล้นวัวควาย คุณพ่อเต่งและพี่ชายคนโดไม่เคยกล้า ที่จะเข้าขัดขวาง ขอเพียงแต่อย่าทำร้ายบุตรหลานก็เป็นพอ “ข้าวของเป็นของนอกาย ไม่ตายก็หาใหม่ได้”

หลวงปู่หลิวในช่วงนั้นก็เป็นวัยรุ่นเลือดร้อน ก็ทวีความโกรธแค้นมากขึ้น จึงคิดหาวิธีปราบโจรผู้ร้าย อย่างเด็ดขาดให้ได้ อันเป็นการช่วยตนเอง และชาวบ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายต่อไป

เข้าป่าเรียนอาคม

หลวงปู่หลิว ได้ชวนหลานชายผู้เป็นลูกของพี่ชาย และหลานชายผู้เป็นลูกของพี่สาว หนีออกจากบ้านไปแสวงหาอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ในดงกระเหรี่ยง เพื่อขอเรียนวิชาไสยศาสตร์ เพื่อนำมาปราบโจรผู้ร้าย ที่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านแทบทุกวัน ซึ่งหลานชายทั้งสองก็เห็นด้วย บนเส้นทางอันเป็นป่าเขาดงดิบด้านชายแดนไทย-พม่า มีป่าไม้รกทึบ อากาศหนาวเย็นด้วยจิตใจอันแน่วแน่ เด็กหนุ่มทั้ง 3 จึงรีบเร่งเดินทางให้ถึงจุดหมายโดยเร็วที่สุด

ป่าดงดิบสมัยก่อนนอกจากจะรกทึบแล้ว ยังเต็มไปด้วยไข่ป่าอันน่าสะพรึงกลัว ในระหว่างการเดินทางหลานชายผู้ซึ่งเป็นลูกของพี่ชายเกิดป่วยหนักด้วยโรคไข้ป่า ยารักษาก็ไม่มีเพราะไม่ได้เตรียมมา หลวงปู่หลิวจึงหยุดพักการเดินทางเพื่อรักษาไข้ป่าไปตามมีตามเกิด หลานชายทนความหนาวเหน็บและพิษของไข้ป่าไม่ไหว จึงได้สิ้นใจตายไปต่อหน้าต่อตาของหลวงปู่หลิวผู้เป็นอา และหลานอีกคน

ความรู้สึกในเวลานั้นทำให้พาลโกรธโจรผู้ร้ายมากยิ่งขึ้น ทางหลานชายเมื่อเห็นลูกพี่ลูกน้องของตนต้องมาตายจากไปจึงเกิดขวัญเสียไม่อยากเดินทางต่อไปตามที่ตั้งปณิธานเอาไว้ เพราะเกรงว่าหนทางข้างหน้าไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก จึงเอ่ยปากชวนน้าชายกลับบ้าน แต่หลวงปู่หลิวได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแล้วว่าจะไม่กลับแน่นอน ถ้าไม่สำเร็จวิชา

หลังจากนั้นหลวงปู่หลิว ได้แยกทางกันกับหลานชาย มุ่งหน้าสู่ดินแดนกระเหรี่ยง ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ เมื่อไปถึงมีชาวกระเหรี่ยงที่พอพูดไทยได้บ้างก็เข้ามาสอบถาม หลวงปู่หลิวจึงได้บอก ความต้องการให้เขาฟัง

หลวงปู่หลิวโชคดีได้ พบอาจารย์หม่งจอมขมังเวทย์ชาวกระเหรี่ยง จึงได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชาอาคมด้วย ท่านใช้เวลาอยู่ในหมู่บ้านั้นนานร่วม 4 เดือน ถึงจะได้เริ่มเรียนวิชากับอาจารย์หม่ง อาจารย์ชาวกระเหรี่ยงให้ความเมตตาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้อย่างเต็มใจ ระหว่างอยู่กับอาจารย์ หลวงปู่หลิวมีความมานะบากบั่น ช่วยงานทุกอย่าง จนเป็นที่รักใคร่ของทุกคน สำหรับวิชาที่ได้ร่ำเรียนในขณะนั้นคือวิชาฆ่าคนโดยเฉพาะ เพื่อไปแก้แค้นโจรที่ลักวัวควาย หลวงปู่หลิวอยู่กับอาจารย์ชาวกระเหรี่ยงได้ 3 ปี กว่าจนถึงวัย 21 ปี ก็ศึกษาวิชาอาคมได้อย่างลึกซึ้ง ก่อนจะเดินทางกลับผู้เป็นอาจารย์ได้กำชับอย่างเด็ดขาดว่าวิชาอาคมต่าง ๆ ที่ประสิทธิ์ประสาทให้ ห้ามใช้จนกว่าจะถูกผู้อื่นทำรังแกทำร้ายอย่างถึงที่สุด เพราะมันเป็นวิชาฆ่าคน ท่านก็รับคำและเดินทางกลับบ้านเกิดด้วยความมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาให้หมู่บ้านของตนจึงเดินทางกลับบ้าน เมื่อได้พบบิดา มารดาแล้ว หลวงปู่หลิวได้ลาท่านไปท่องเที่ยวอีกครั้ง

ใช้ควายธนูปราบโจรขโมยวัว

ในฤดูฝนปีถัดมา หลวงปู่หลิวได้กลับจากท่องเที่ยว มาช่วยบิดามารดาทำไร่นาที่บ้านเกิดอีกครั้ง วัวควายที่เคยเลี้ยงอย่างระมัดระวัง ก็ปล่อยให้มันกินหญ้าตามสบาย เขาทำมาหากินได้ไม่กี่เดือน มีเพื่อนฝูงที่สนิทคนหนึ่งแจ้งข่าวให้ทราบว่า โจรก๊กหนึ่งจะเข้าปล้นวัวควายเขาในเร็ว ๆ นี้ หนุ่มหลิวก็เตรียมรับมือทันที แต่ไม่มีใครรู้ว่าเขาเตรียมตัวเช่นไร่ ทุกวันเขาทำตัวปกติมิได้อาทรร้อนใจกับเรื่องที่โจรจะเข้าปล้นกลางวันทำไร่ เลี้ยงควายไปตามเรื่อง ตกเย็นค่ำมืดกินข้าวกินปลาหากไม่มีเพื่อนแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนเขาก็เข้านอนแต่หัววัน

อีกหลายสิบวันต่อมา คืนหนึ่งดึกสงัดเป็นวันข้างแรม ท้องทุ่งอันเวิ้งว้างมืดสนิทไร้แสงเดือน ท้องฟ้ามีแต่หมู่ดาวกลาดเกลื่นระยิบระยับไปทั่ว แต่ที่บ้านของหนุ่มหลิว มันเงียบแต่ไม่สงัด ร่างตะคุ่มหลายสายพากันเคลื่อนไหว เข้าใกล้เรือนที่มืดมืดของเขา ร่างเหล่านั้นมุ่งไปที่คอกวัวควายส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคุมเชิงระวังภัยให้กับเพื่อน

ทันใดนั้น กลุ่มโจรที่เข้าไปเปิดคอกถึงกับตะโกนร้องอย่างตกใจ ระคนด้วยความหวาดกลัวแล้วแตกกระเจิงออกคนละทิศละทาง เสียงโวยวายร้องบอกให้เพื่อนหลบหนีดังขึ้นสลับร้องโหยหวนเจ็บปวด

เช้าตรู่ของวันใหม่ ท่านเอาวัวควายออกเลี้ยงตามปกติที่ไร่ แม้ว่ารอบบ้านจะมีร่องรอยเท้าคนย่ำอย่าสับสนและมีรอยเลือดกองเป็นหย่อม ๆ และกระเซ็นไปทั่ว เขาไม่ยี่หระวางเฉย เพียงแต่ก้มลงหยิบสิ่งหนึ่งที่หน้าคอกสัตว์ มันคือ รูปปั้นควายดินเหนียว ซึ่งเลอะไปด้วยเลือดเต็มเขาและหัวของมัน หรือว่าสิ่งนี้ คือ ”ควายธนู” ทำการขับไล่เหล่าโจรร้าย ไม่มีใครรู้นอกจากหนุ่มหลิวเพียงคนเดียว

ข่าวการใช้ควายธนุขับไล่โจรก๊กนั้นแพร่สะพัดไปทั่วหมู่บ้านและลือกันต่าง ๆ นานาว่าท่านเป็นผู้มีของดี ถึงกระนั้นก็ยังไม่วายมีมิจฉาชีพคิดอยากลองของ ด้วยการซุ้มรุมทำร้ายด้วยอาวุธนานาชนิด แต่มีด ปืนผาหน้าไม้ที่รุมกระหน่ำไม่สามารถทำอันตรายท่านได้แม้แต่น้อย แถมการที่ท่านสู้แบบไม่ถอยทำให้คนร้ายวิ่งหนีกันหัวซุกหัวซุน จากชัยชนะหลายครั้ง หลายหนต่อการรุกรานในรูปแบบต่างๆ สร้างความพอใจให้กับคนในหมู่บ้านบางรายถึงกับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ แต่ก็มีชาวบ้านบางพวกกับมองว่าท่านเป็นนักเลงหัวไม้

ในที่สุดหลวงปู่หลิวก็ปราบโจรลงอย่างราบคาบ จนโจรหลายคนต้องมากราบขออโหสิ และบางคนก็มาขอเป็นศิษย์ นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็มีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องหวาดผวาโจรผู้ร้าย บรรดาโจรผู้ร้ายหลายคนก็ได้กลับตัวกลับใจ ทำมาหากินด้วยความสุจริต อย่างชาวบ้านทั่วไป หลวงปู่หลิวได้กล่าวถึงพวกโจรขโมยวัวควายที่พ่ายแพ้ตนว่า “คนเราถ้าอยากจะชนะ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยกล ก็ต้องเอาด้วยคาถา แต่เมื่อเขายอมรับผิด ยอมกลับตัวกลับใจ เราก็ควรให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด เป็นการให้ที่ประเสริฐและได้กุศลด้วย”

ชีวิตที่ยังไม่เปิดเผย

ภายหลังที่หลวงปู่หลิวได้ปราบโจรเป็นที่เรียบร้อย และชาวบ้านอยู่อย่างสงบสุขแล้ว หลวงปู่หลิวก็ได้กลับมาทำไร่ ทำนาตามปกติ ตอนนี้ท่านได้แยกตัวออกมาทำงานของตัวเอง ท่านทำหลายอย่าง เผาถ่านท่านก็เคยทำ เก็บเห็นเผาะขายก็เคย รับจ้างทำไร่ก็เคย ตอนที่ท่านทำไร่นี่แหละ ท่านไปเจอแม่ม่ายคนหนึ่งชื่อ ”นางหยด” เกิดชอบพอกันขึ้นมา ก็เลยอยู่กินด้วยกัน และมีลูกชายด้วยกันคนหนึ่งคือ นายกาย นามถาวร ซึ่งเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่มีความรักเอื้ออาทรต่อกัน

สู่โลกธรรม

เมื่อหลวงปู่หลิวได้ใช้ชีวิตอยู่กับนางหยด ระยะหนึ่งแล้ว ได้สัมผัสกับกระแสแห่งความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ ความโลภ โกรธ หลง อวิชชา ตัณหา ราคะต่าง ๆ หลวงปู่หลิวเริ่มจับตามองความเป็นไปต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังคมทีละน้อย ๆ และความรู้สึกนั้นได้เพิ่มพูนมากขึ้น

จนกระทั่งหลวงปู่หลิวมีอายุได้ 27 ปี ได้เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีด ในการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันตามสภาวะแห่งกิเลสตัณหา ราคะของชีวิตฆราวาส ซึ่งไม่ถูกกับนิสัยที่แท้จริงของตน คือรักความสงบชอบความสันโดษเรียบง่าย จิตใจของหลวงปู่เริ่มเองเอียงไปทางธรรมะธัมโม อยากจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่หลิวจึงได้ขออนุญาตบิดา มารดา เพื่ออกบวชแสวงหาหนทางแห่ง การหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ท่านทั้งสองก็เห็นดีเห็นงาม ด้วยความปลาบปลื้มเป็นล้นด้น ที่ลูกชายจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

หลวงปู่หลิว ได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (ประมาณเดือน 7 ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. 2475 ปีวอก) โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ปณฺณโก” อ่านว่า ปัน-นะ-โก

เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่หลิว ปณฺณโก ได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานควบคู่กันไปทั้งยังความสะดวกสบายกว่าที่อื่น ๆ เพราะมีญาติพี่น้องให้ความอุปัฏฐากอย่างใกล้ชิด

ในพรรษาแรกนั้น หลวงปู่หลิวได้มีโอกาสใช้วิชาช่างช่วยท่านเจ้าอาวาสสร้างศาลาการเปรียญหลังหนึ่งซึ่งใหญ่มากจนสำเร็จ

ต่อมาอีก 4 เดือนท่านได้ช่วยปรับพื้นศาลาเสร็จอีก และยังได้สร้างกี่กระตุก (ที่ทอผ้า) อีก 50 ชุด เพื่อถวายให้กับวัดหนองอ้อ จึงนับได้ว่าหลวงปู่หลิวไม่เคยหยุดนิ่ง ท่านมีพรสวรรค์ทางเชิงช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ และญาติโยม ชาวบ้าน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภายหลังจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัดล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของหลวงปู่หลิวทั้งสิ้น

เรียนอาคมเพิ่มบารมี

หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจในการก่อสร้างแล้ว ท่านได้ไปโปรดอารย์ชาวกระเหรี่ยง สร้างความปลาบปลื้มแก่อาจารยืหัวหน้าเผ่าและชาวบ้าน ที่หลวงปู่เป็นศิษย์กตัญญู ในคราวนี้หลวงปู่หลิว ยังได้รับการถ่ายทอดคาถามหามนต์ มหาเวทย์ของชาวมอญ อันเป็นเคล็ดวิชาที่อาจารย์ชาวกระเหรี่ยงเคยบวชเรียนอยู่หลายพรรษา

จากนั้นหลวงปู่หลิวได้วกลงใต้ ไปกราบหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อแดงได้ขึ้นกัมมัฏฐานให้ และสอนวิชาทำสมาธิ เข้าญาณสมาบัติ สอนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ตลอดจนการเขียนลบผงอิทธิเจ....ปัทถมัง....ตรีนิสิงเห....ฯลฯ

จากนั้นไปกราบพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช พ่อท่านคล้ายได้เมตตาสอนเคล็ดวิชาต่างๆ ให้ด้วยความปราณี

ในช่วงนี้เองหลวงปู่หลิวได้พบกับอาจารย์อุ่ม เสือสมิง "จอมขมังเวทย์ชาวใต้" หลวงปู่หลิวได้ธุดงค์มาถึงตลาดห้วยมุด นครศรีธรรมราช ได้พบชายคนหนึ่งรูปร่างสูงใหญ่กำยำ สักยันต์เต็มตัว....รู้ในภายหลังว่าชื่ออาจารย์อุ่ม เป็นอาจารย์สักยันต์ด้วยนำมันเสือ ได้เข้ามายกมือไหว้ ขอให้ช่วยเป่ากระหม่อมให้หน่อย หลวงปู่หลิวมองด้วยสายตาก็รู้ว่า ชายผู้นี้มีวิชาอาคมต้องการจะมาลองดี จึงบอกไปว่า"ของๆโยมดีอยู่แล้ว" แต่อาจารย์อุ่มกลับไม่ยอม ดักหน้าดักหลัง หลวงปู่ทนรำคาญไม่ไหวจึงเป่ามนต์ไปที่ศีรษะ ทันทีที่ต้องมนต์ใบหน้าของอาจารย์อุ่มเปลียนไปทันที ดวงตาเบิกกว้าง อ้าปากคำราม คล้ายเสียงเสือ ชู 2 แขนกางมือจะตะปบใส่ หลวงปู่หลิวใช้มือขว้าคว้าศีรษะกดหัวลงกับพื้น ปากก็ตะโกนว่า "เสือ..เสือ...ใครไม่เคยเห็นเสือมาดูทางนี้"

.............ชาวบ้านร้านตลาดแตกตื่น พากันวิ่งมาดูพระธุดงค์มือซ้ายแบกกลด และเครื่องอัฏฐบริขารพะรุงพะรัง มือขวากดศีรษะชายร่างใหญ่ หมอบดิ้นไปมาคล้ายเสือ หลวงปู่จึงถามว่า "ยอมไหม" เสืออาจารย์อุ่มจึงพูดขึ้นว่า" ยอม ...ยอมแล้ว...ยอมแล้วขอรับ ปล่อยมือเถิดครับ หัวผมจะแตกอยู่แล้ว" พอหลวงปู่หลิวเอามือออก อาจารย์อุ่มก็คลานไปกราบแทบเท้าขอขมาลาโทษ ไม่นึกว่าพระธุดงค์หนุ่มรูปนี้จะมีวิชาเกินตัว ปากก็พร่ำว่า "ผมยอมแล้ว" และยังพูดต่อไปอีกว่า "ขนาดพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน ยังไม่กล้าจับหัวผมเลย" พร้อมทั้งยกมือไหว้นิมนต์ให้ไปเยี่ยมสำนัก หลวงปู่หลิวทำใจดีสู้เสือ

ที่สำนักของอาจารย์อุ่ม เลี้ยงผี เลี้ยงกุมารทอง เดินเพ่นพ่านไปหมด หลวงปู่หลิวจึงสะกดไว้ด้วยเวทย์มนต์ ของอาจารย์ชาวกระหรี่ยง อาจารย์อุ่มได้นำคัมภีร์โบราณต่างๆ มาอวด พร้อมทั้งถวายเหล็กสักยันต์ เครื่องรางของขลังต่างๆ พร้อมทั้งแม่พิมพ์พระเครื่อง แต่หลวงปู่หลิวไม่ยอมรับ คงรับไว้แต่แม่พิมพ์พระขนาดเขื่อง เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัยนั่งบัว มีประภามณฑล ข้างๆ มีฉัตร คิดว่าจะนำแม่พิมพ์นี้ไปกดพระแจกแก่ศิษย์และผู้มีจิตศรัทธา หลวงปู่ให้ชื่อพระพิมพ์นี้ว่า "พระประตูชัย" หลวงปุ่สร้างเป็นพระเนื้อดินเผา ใต้บานมีตะกรุด 1 ดอก

จากนั้นท่านได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่ออุ้ม จ.นครสวรรค์

การสร้างเสนาสนะและบูรณปฏิสังขรณ์

พ.ศ.2482 ได้บูรณะ วัดท่าเสา จ.สุพรรณบุรี ท่านได้สร้างกุฏิขึ้น 3 หลัง และพระอุโบสถอีก 1 หลัง

พ.ศ.2484 ท่านไดไปจำพรรษา ณ วัดสนามแย้ จ.กาญจนบุรี ท่านได้บูรณะสิ่งต่างๆ มากมายไม่ว่า กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ และโบสถ์ จนมีความเจริยรุ่งเรือง จนเป้นที่รู้จักันดีของประชาชนทั่วไป อุดมการณ์แห่งการสร้างสรรคืพัฒนาของ หลวงปู่หลิวสืบสานการดำเนินการต่อเนื่องในวัดสนามแย้แห่งนี้ เป้นเวลายาวนานถึง 36 ปี ท่านเห็นว่าการทำงานของท่านสมควรแก่เวลาแล้ว ควรกระจายไปสู่ถิ่นอื่นบ้าง

พ.ศ.2520 สร้างวัดไทรทอง ที่ ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ให้เวลาก่อสร้าง 5 ปีจึงแล้วเสร็จ

พ.ศ.2525 สร้างวัดไร่แตงทอง ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง เมื่อวันที่ 7 มิถนายน พ.ศ.2535

กลับมาตุภูมิอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อหลวงปู่หลิวได้พัฒนาวัดไร่แตงทอง จนเป็นที่เจริยรุ่งเรืองแล้ว ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง แล้วได้ย้ายกลับมาจำพรรษยังวัดหนองอ้อ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี อันเป็นวัดบ้านเกิด อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2540 ท่านกลับมาจำพรรษาในฐานะพระลูกวัดองค์หนึ่งเท่านั้น ท่านใช้เวลาสร้างกุฏิหลังใหม่ด้วยเวลาเพียง 5 เดือนเศษ

สิ้นแล้วหลวงปู่หลิว

เริ่มเข้ากลางปี พ.ศ.2543 หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์ 5 เป็นต้นมา หลวงปู่หลิวเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา

ปรัชญฐาอันลึกซึ้งของหลวงปู่หลิว ขณะที่ท่านอาพาธ ก็คือไม่ยินดียินร้ายกับการจะอยู่หรือการจะไป ร่างกายของคนเราเป็นของผสม เมื่อถึงคราวแตกดับก็ต้องแตกดับ

หลวงปู่หลิวเคยปรารภกับลูกหลานว่า เกิดที่หนองอ้อก็อยากตายที่หนองอ้อ และหากว่าถึงเวลาที่ท่านต้องจากไป ก็อย่าได้หน่วงเหนี่ยวท่านไว้ เพราะวัฏสงสารเป็น เรื่องธรรมดาของมนุษย์

ในค่ำคืนวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2543 เวลา 20.35 น. หลวงปู่หลิวได้ละสังขารอย่างสงบ ท่ามกลางลูกหลาน ที่คอยมาดูใจเป็นครั้งสุดท้าย ที่กุฏิของท่าน วัดหนองอ้อ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมอายุ95 ปี 74 พรรษา


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ
 
 

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

ชุดน้ำยาทำผิวรุ้ง ผิวสวย พระเครื่องเนื้อทองแดง 

500 บาท


ชุดน้ำยารมดำและน้ำตาล ทองเหลือง ทองแดง 

450 บาท


น้ำยาล้างเงิน นาค ทอง เหรียญกษาปณ์ 

250 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

1490 บาท


น้ำยาล้างพระเหรียญไทย  

200 บาท


พระสมเด็จ วัดประดู่ฉิมพลี 

5500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

2500 บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อโชติ วัดตะโน 

4500 บาท


หลวงพ่อกัณหา วัดป่าทรัพย์ทวี 

3500 บาท


เหรีญหลวงปู่คร่ำ วัดสุขไพรวัน 

พระโชว์ บาท


เหรียญเสมา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ เนื้อนวะ 

พระโชว์ บาท


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 17 บล็อกนวะคอปาด เนื้อทองแดงรมดำ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม 

พระโชว์ บาท


พระกลีบบัว วัดลิงขบ 

พระโชว์ บาท


หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 

พระโชว์ บาท


พระสมเด็จ (เซาะพิมพ์) หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด